E-Portfolio Subject to the Science Experiences Management for Early Childhood Semester 1 /2557

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่6


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 23 กันยายน 2557

..เพื่อนนำเสนอบทความ..

..ครูกำลังสอน..

...กลุ่มของดิฉัน กล้วยคะ...





การนำไปประยุกต์ใช้

เมื่อเราเข้าใจบทเรียนอย่างแท้จริง ก็จะทำให้เราสอนเด็กได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ โดยการสอนนั้นต้องให้เด็กสังเกตและทดลอง
โดยเราจะเป็นผู้คอยดูแลอยู่ห่างๆ

การประเมินผล

ตนเอง...ตั้งใจฟังเนื้อหาที่ครูสอนคะ
เพื่อน...ค่อนข้างตั้งใจฟังครูสอนดีคะ
อาจารย์...ยังคงสอนด้วยวิธียกตัวอย่างให้เด็กคิดตาม ซึ่งดีมากๆเลยคะ

.
.
.
ขอบคุณคะ
.
.
.

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุป วีดีโอ ความลับของแสง


.
.
.
ขอบคุณคะ
.
.
.

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

 
วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 16  กันยายน  2557
 
 ในวันนี้ ครูได้ให้ดูคลิปวีดีโอ ที่จัดทำเองโดยเด็กมัธยม
และให้เพื่อนๆออกไปนำเสนอบทความคะ
สุดท้ายครูให้นักศึกษาจับกลุ่มคิดหน่วยการเรียนรู้ขึ้นมา
และกลุ่มดิฉันเลือก หน่วย กล้วยคะ
 
 ...เพื่อนกำลังนำเสนอบทความ และครูกำลังสอนคะ...

 
 
 การนำไปประยุกต์ใช้
 สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียน นำไปใช้ในการสอนเด็กได้อย่างถูกวิธี
และเหมาะสมกับเด็กได้
 การประเมินผล
 ตนเอง  ในวันนี้ค่อนข้างตั้งใจเรียนมากขึ้นแต่อาจจะยังงงๆกับวิธีการยกตัวอย่างครูคะ
 เพื่อน  เพื่อนๆคุยกันน้อยลงและตั้งใจเรียนมากขึ้นคะ
 ผู้สอน  ครูยกตัวอย่างได้เข้าใจและทำให้นักศึกษาเกิดภาพ ชอบตอนเวลาครูสั่งงานสามารถพูดคุยเวลาไม่เข้าใจเนื้อหาที่ครูสั่งกับครูได้คะ:)
 
 .
.
.
 ขอบคุณคะ
 .
.
.
 

สรุปบทความ วิทยาศาสตร์

เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ

.
.
.
ขอบคุณคะ
.
.
.

บทความ วิทยาศาสตร์

 

             บทความเรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
            โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ
             
หลักการและความสำคัญ
                 วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและ เทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและ ยั่งยืน
                    การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการ จัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่ง ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
อย่างไรก็ตาม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่ง เสริมให้แพร่หลายอาจเนื่องด้วยการศึกษาปฐมวัยมิได้เป็นการศึกษาภาคบังคับและ ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดกรอบสาระของหลักสูตรไว้กว้างๆทำให้สาระของ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่มีความชัดเจน สสวท.จึงร่วมกับกลุ่มนักวิชาการ พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการส่ง เสริมและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ 

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้
                        1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
                       2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
                       3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
               ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายให้ครูผู้สอนได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยา ศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ รวมถึงการพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยา ศาสตร์ระดับปฐมวัยและเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับต่อไป

เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ
            1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้าง ขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ
            2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้
            3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
            4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
            5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
           6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์

บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
              1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบ ตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่ง ต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม
               2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก  ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษา ด้านสติปัญญา เด็กได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย ได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง
              3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการ ออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัยและ ศักยภาพผ่านทางการเล่นทางวิทยาศาสตร์

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
            1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
            2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
            3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
            4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
            5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
            6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
            7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ
การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธี การที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคำถาม การทดลอง การสังเกตและการหาข้อสรุปซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหา ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้
                  1.เราต้องการค้นหาอะไร
                  2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้
                  3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
                 4.สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง
ผลที่ได้รับจากการศึกษาเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยคือได้ทราบ
หลักการและความสำคัญ เป้าหมาย บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะได้นำแนวทางนี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไป

เอกสารอ้างอิง  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546

 

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 9  กันยายน  2557


ในวันนี้ดิฉันหยุดเรียน เนื่องจากป่วย
จึงได้พักผ่อนอยู่บ้าน
แต่ได้ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้เรียนในวิชานี้
จากเพื่อนคะ คือ
นางสาว  ชลิดา  อินทร์ถนอม
นางสาว สุภาวดี  พรมภักดิ์
และ นางสาว ภูริศา  เข้าเมืองค่ะ

จึงสรุปบทเรียนได้ดังนี้คะ



 การนำไปประยุกต์ใช้



 สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาจากเพื่อน
 นำทำความเข้าใจและเกิดเป็นความรู้ใหม่ของตนเองจากการศึกษาด้วยตนเองคะ


 การประเมินผล



 ตนเอง  ศึกษาบทเรียนที่ตนเองหยุดจากเพื่อนได้อย่างเข้าใจคะ


 เพื่อน  เพื่อนๆมีน้ำใจและช่วยกันบอกเนื้อหาที่ตนได้เรียนมาคะ


 ผู้สอน  วันนี้หยุดจึงไม่ทราบถึงการสอนของครูคะ:)
.
.
.
ขอบคุณคะ
.
.
.

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

 
วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วันที่ 2  กันยายน  2557


ได้เข้าร่วมกิจกรรม 
" โครงการ ศึกษาศาสตร์วิชาการ"  "Thinking Faculty"
ณ อาคารพลศึกษา(โรงยิม)
ในงานวันนี้มีกิจกรรมต่างๆให้เล่นมากมาย 
อีกทั้งยังได้รับความรู้และความสนุกสนาน
จากซุ้มต่างๆด้วยคะ



... บรรยากาศตอนร่วมกิจกรรม...


...ชอบมากๆเลย ซูโดคุ กับ พับแอปเปิ้ลจาก3ลูกเหลือ1ลูก...


...สมุดร่วมกิจกรรม...
เข้าเล่นทุกกิจกรรมเลยค่า :)


กิจกรรมในวันนี้ ได้ส่งเสริมการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างแท้จริง 
อีกทั้งยังได้รับความสนุกสนานในการทำกิจกรรม
ถึงแม้จะไม่ได้รางวัลอะไร แต่ก็ได้รางวัลทางใจคะ


 การนำไปประยุกต์ใช้



 สามารถนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมไปปรับใช้ในการเรียนได้คะ 
และอาจจะได้แนวทางในการจัดบอร์ดของพี่ๆไปใช้ในการจัดของตนเองได้คะ


 การประเมินผล



 ตนเอง  ชอบและตั้งใจทำกิจกรรมไปตามซุ้มต่างๆมากคะ


 เพื่อน  เพื่อนๆสนุกสนานในการทำกิจกรรมมากคะ


 ผู้สอน  ครูเปิดโอกาสให้พวกเราศึกษาดูงานนอกห้องเรียนคะ:)
 
 .
 .
 .
ขอบคุณคะ
.
.
.

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 26  สิงหาคม  2557






การนำไปประยุกต์ใช้



 สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียน นำไปใช้ในการสอนเด็กได้อย่างถูกวิธี

และเหมาะสมกับเด็กได้



 การประเมินผล



 ตนเอง  ในวันนี้ตั้งใจเรียนและฟังครูอธิบายมากคะ


 เพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจเรียนดีคะ


 ผู้สอน  ครูยกตัวอย่างได้เข้าใจและทำให้นักศึกษาเกิดภาพ คะ:)
 
.
.
.
ขอบคุณคะ
.
.
.