E-Portfolio Subject to the Science Experiences Management for Early Childhood Semester 1 /2557

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 2 ธันวาคม 2557


วันนี้เป็นการนำเสนอโทรทัศน์ครูและวิจัยต่างๆคะ
โดยส่วนมากคนที่หาวิจัยมาไม่ครบถ้วน ซึ่งครูบอกแนวทางแก้ไขของแต่ละคนเป็นอย่างดีคะ

ลำดับถัดมาคืออาจารย์ให้นักศึกษานั่งตามกลุ่มที่เคยทำแผน 5 คน แล้วช่วยกันทำแผ่นพับเรื่องสายสัมพันธ์ผู้ปกครองและนักเรียน โดยแจกกระดาษให้นักศึกษาทุกคน แล้วช่วยกันระดมสมอง และจัดทำ โดยส่งเป็นแผ่นพับ 1 อันคะ


สุดท้าย เป้นการส่งของเล่นวิทยาศาสตร์ตามกลุ่มของตนเองคะซึ่งของดิฉันคือ หลอดไหมพรมเต้นระบำนั่นเอง


การนำไปประยุกต์ใช้

                         
                         สามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟังเพื่อนออกมานำ เสนอและที่อาจารย์อธิบายให้ฟังสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ และการทำแผ่นพับกระดาษซึ่ง
สามารถนำวิธีการมาทำเป็นแผ่นพับความรู้แจกผู้อื่นได้จริงคะ

การประเมินผล

ตนเอง...ตั้งใจเพื่อนนำเสนอดีมากคะและยังคอยตอบคำถามครูเสมอเวลาครูถามถึงเนื้อหาของการรายงานของเพื่อนๆและตนเองก็ตั้งใจช่วยเพื่อนในการทำงานกลุ่มดีมากคะ

เพื่อน...เพื่อนในห้องถามตอบอาจารย์ขณะถามถึงเรื่องเนื้อหาที่เพื่อนออกมานำเสนอดีคะ 
และทุกคนตั้งใจทำงานกลุ่มไม่ค่อยมีเสียงดังรบกวนคนอื่นดีมากคะ

 อาจารย์...วันนี้ครูคอยถามและคอยบอกข้อชี้แนะในการศึกษาวิจัย ว่าควรหาตรงไหน ใจความสำคัญคืออะไร ซึ่งมีประโยชน์ แก่พวกเรามากคะ

.
.
.
ขอบคุณคะ
.
.
.

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557


วันนี้นำเสนอวิจัย(Research)และโทรทัศน์ครู(Teachers TV)

             วิจัย(Research) 
             - ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยา ศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (การคั้นน้ำจากผักผลไม้ดอกไม้เพื่อเอาสีมาทำผสมอาหารหรือทำ งานศิลปะ)
               - ผลการจัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มัต่อทักษะการแสวงหาความรู้
              - การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร (การจำแนก/สังเกต/สื่อความหมายของข้อมูล)

                โทรทัศน์ครู(Teachers TV)
                 - การกำเนิดของเสียง (การใช้โลหะที่มีคุณสมบัติต่างกันมาตีกัน)
                 - สารอาหารในชีวิตประจำวัน (ทดลองจุ่มกระดาษบนแกงส้มสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีบนกระดาษ)
                - ไฟฟ้าและพรรณพืช (ทดลองโดยใช้กระแสไฟฟ้าทำกับน้ำเกิดออกซิเจน ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช)




วาฟเฟิล 

อุปกรณ์ 1.เครื่องทำวาฟเฟิล
2.แป้ง
3.ไข่ไก่
4.น้ำเปล่า
5.เครื่องตี ชาม ช้อน จาน
6.เนย

ขั้นตอนการทำ
1.เทแป้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้
 2.นำไข่ใส่ลงไปตามด้วยน้ำเปล่า
 3.ใส่เนยลงไป
4.คนจนแป้งเข้าที่เหนียวนุ่ม
5.ใส่ถ้วยที่เตรียมไว้
6.นำไปใส่เครื่องทำวาฟเฟิลก่อนใส่ทาเนยลงบนเครื่องทำวาฟเฟิล
เพื่อไม้ให้แป้งติดเครื่อง
7. รอเครื่องเปลี่ยนจากไฟแดงเป็นไฟเขียว
8.นำออกจากลงใส่จานเป็นอันเสร็จเรียบร้อย



การนำไปประยุกต์ใช้
                         
                         สามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟังเพื่อนออกมานำ เสนอและที่อาจารย์อธิบายให้ฟังสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ และการทำวาฟเฟิลสามารถนำวิธีการขั้นตอนการทำมาใช้สอนเด็กได้ซึ่งจะ ทำให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย และเป็นกิจกรรมที่วัสดุอุปกรณ์ง่าย หาไม่ยากคะ

การประเมินผล
 
ตนเอง...ตั้งใจเพื่อนนำเสนอดีมากคะและยังคอยตอบคำถามครูเสมอเวลาครูถามถึงเนื้อหาของการรายงานของเพื่อนๆอีกทั้งการทำวาฟเฟิลตั้งใจฟังตั้งใจทำ ตั้งใจกินและตั้งใจล้างอุปกรณ์ด้วยคะ

เพื่อน...เพื่อนในห้องถามตอบอาจารย์ขณะถามถึงเรื่องเนื้อหาที่เพื่อนออกมานำเสนอดีคะ 
และช่วยกันทำวาฟเฟิลร่วมไปถึงการล้างเก็บอุปกรณ์ดีมากคะ 

                       อาจารย์...ถามถึงวิธีและกระบวนการทำของงานวิจัยและโทรทัศน์ครูว่ามีการสอนอย่างไรมี และครูได้นำกิจกรรมสนุกและอร่อยทำง่ายมาให้อีกด้วยค่า
นั่นคือวาฟเฟิล


.
.
.
ขอบคุณคะ
.
.
.

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุป วิจัย



การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์
ของ  มยุรี  ศรีทอง

มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ


จุดมุ่งหมาย  เพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังในการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย

คำศัพท์  เด็กนักวิจัย แปลว่า เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เรียนรู้เรื่องที่ตนเองสนใจ มี 3 ขั้น  1. ขั้นทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเรื่องที่สนใจ
              2. เด็กค้นคว้าหาความรู้(กำหนดแหล่งเรียนรู้ใกล้ตัวเด็ก) ครูคอยกระตุ้นเด็กให้สังเกต
              3. ขั้นทบทวนความรู้ คือประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม

ขอบเขต   เด็กชาย  หญิง  อายุ 5-6 ปี อนุบาล2 โรงเรียนหงส์ประภาสประสิทธิ์ จำนวน 20 คน

ตัวแปรต้น       การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
ตัวแปรตาม     ความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย

เครื่องมือ  1.แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
                  2. แบบทดสอบความรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย อย่างละ10ข้อ ได้แก่                    ต้นไม้  สัตว์  น้ำ  อากาศ  หาค่าความเชื่อมั่นโดย  KR-20 คูเดอร์-ริชาร์ดสัน

วิธีการ   แผนเรื่องต้นไม้ การสอน 2สัปดาห์

1. ทดสอบความรู้ในการอนุรักษ์ ด้วยชุดทดสอบ  
    
        สัปดาห์ที่ 1  

        จันทร์          
กำหนดหัวข้อ  ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมรอบตัวสนทนาเรื่อง สิ่งแวดล้อม และให้เด็กเล่าประสบการณ์ของตนเอง โดยให้เด็กๆออก มาเล่าประโยชน์ของต้นไม้ในความคิด
         อังคาร          
ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในบริเวณโรงเรียน  ครูพาเด็กไปสำรวจต้นไม้ ในบริเวณโรงเรียน พร้อมใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กสังเกต
          พุธ               
ศึกษาการเจริญเติบโต   พาเด็กเดินดูต้นไม้พร้อมทั้งใช้คำถามกระตุ้นการสังเกตลักษณะของต้นไม้ แล้วให้ไปเดินดูเป็นกลุ่มแล้วกลับมาเล่า  สิ่งที่พบเห็น
         พฤหัสบดี     
 ศึกษาชื่อต้นไม้  ครูแบ่งกลุ่มให้เด็กๆ สำรวจต้นไม้ชนิดต่างๆ จากนั้นให้เด็กวาดภาพสิ่งที่ศึกษาและนำมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง
          ศุกร์             
ศึกษาต้นไม้เป็นที่อยู่ของสัตว์  ครูพาเดินดูต้นไม้ จากนั้นให้เด็กๆวาดรูปต้นไม้ที่มีสัตว์อาศัยอยู่และอธิบายว่าทำไมสัตว์ถึงมาอยู่บนต้นไม้ต้นนี้

          สัปดาห์ที่ 2 

          จันทร์            
ปลูกต้นไม้  สนทนาเรื่องที่เรียนในอาทิตย์ที่แล้ว จากนั้น ให้เด็กๆรวมต้นคุณนายตื่นสายที่มาจากที่บ้าน ไปขุดดินปลูกร่วมกัน จากนั้นกำหนดให้ช่วยกันดูแลต้นไม้
           อังคาร            
พืชเป็นอาหารของคนและสัตว์ ให้เด็กๆศึกษาผักกาด คะน้า ข่าตะไคร้ พร้อมถามว่า เด็กๆเคยกินหรือไม่ มีประโยชน์อย่างไร จากนั้น  พากันไปปลูกผักสวนครัวที่หลังโรงเรียน
           พุธ                 
 ร่วมกันคิดทำกิจกรรมผลงาน ฟังนิทานเรื่องเสียงจากต้นไม้ และให้เด็กๆคิดกิจกรรมที่อยากทำ และเลือกวิธีการสร้างผลงานอย่างอิสระ ครูจึงแจกกระดาษและสี วาดภาพต้นไม้ที่ปลูกร่วมกัน เป็นงานกลุ่ม
           พฤหัสบดี       
ลงมือปฏิบัติเพื่อทำผลงาน  เด็กๆแบ่งปันกันดูผลงานของกลุ่มอื่นและช่วยกันลงไปรดน้ำต้นไม้
            ศุกร์               
นำเสนอผลงานและทบทวนความรู้  ครูและเด็กร่วมกันสร้างเนื้อเรื่องนิทาน และให้เด็กนำเสนอผลงาน
      
2.  ทำการทดสอบด้วยแบบทดสอบชุดเดียวกับที่ทำก่อนการทดลอง
3.  นำไปหาค่าทางสถิติ

สรุปผล    เด็กๆมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย จาก.584  ไปถึง.764 มีความรู้                    โดยรวม ร้อยละ 79

สรุป โทรทัศน์ครู



เรื่อง   ไข่ดีมีประโยชน์

คุณครูรจนา สังวรสินธุ์ รร.วัดไทรใหญ่ จ.นนทบุรี

สอน เรื่องไข่ดีมีประโยชน์ เพื่อนักเรียนสามารถรู้เบื้องต้นชนิด, ส่วนประกอบของไข่ บอกชื่อของไข่ และทำอาหารง่าย ๆ ที่มาจากไข่พร้อมทั้งฝึกทักษะทางภาษา

สรุป

 เป็น การจัดกิจกรรมบูรณาการทักษะวิชาพื้นฐานต่างๆเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ฝึกให้เด็กได้พัฒนาการทางภาษาจากการสนทนาซักถามและการเล่านิทาน ต่อมาคุณครูได้เสริมทักษะวิทยาศาสตร์โดยให้เด็กได้สังเกต ไข่ที่มีสีและขนาดต่างๆกันและคุณครูยังส่งเสริมกระบวนการคิดโดยให้เด็กดูรูป ภาพแล้วให้เด็กตอบเพื่อทบทวนความรูเดิมที่เด็กมี เด็กที่เรียนในกิจกรรมนี้ได้มีทักษะคณิตศาสตร์ในการนับจำนวน สังเกต จำแนกความเหมือนความต่าง และได้เปรียบเทียบขนาดและจำนวนไข่ และขณะเด็กร่วมทำกิจกรรมคุณครูยังให้คำชมเชยและชวนให้ เด็กปรบมือให้กับเด็กที่ออกมาแยกไข่ใส่ตะกร้า การสอนแแบนี้เป็นการสอนที่ส่งเสริมความกล้าแสดงออกและเพิ่มความมั่นใจให้กับ เด็ก เด็กจะเกิดความกล้าในการเข้าร่วมกิจกรรม กล้าคิด กล้าพูด กล้าตอบ โดยไม่รู้สึกเขินอาย และการสอนของคุณครูยังทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเช่นในการชิมรสชาติของ ไข่เค็ม เด็กได้เห็นลักษณะของไข่เยี่ยวม้า และไข่เค็มที่คุณครูผ่าให้เด็กดู เด็กได้ลงมือตอกไข่และทำไข่หวานด้วยตัวเองทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตน เอง ซึ่งประการณ์แบบนี้เด็กอาจจะไม่เคยได้ทำมาก่อนจากที่บ้าน เด็กก็จะเกิดองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเองและอาจเชื่อมโยงความรู้ที่ได้รับใน การร่วมกิจกรรมนี้ไปสู่ที่บ้านได้ไม่ยาก

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14


วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2557


ในวันนี้นำเสนอต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว3กลุ่มคะ

กลุ่มที่2 นกหงษ์หยก

สอนเกี่ยวกับลักษณะ/สี/ขนาด/รูปทรง 
ให้เด็กสังเกตลักษณะต่างๆของนกหงษ์หยก 2 ชนิด
แล้วมาหาความสัมพันธ์เหมือนต่าง

 tip ถ้าเด็กแย่งกันตอบควรใช้วิธียกมือ
ถามลำดับเหมือนกันเช่น ตา-ตา ปาก-ปาก
ดูอันที่เหมือนกันก่อนแล้วไปดูอันที่แตกต่างกัน

 

 กลุ่มที่8 สับปะรด




 สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังของ สับประรด
 โดยการเล่านิทานซึ่งสอดแทรกประโยชน์และข้อควรระวัง
จากนั้นชูภาพแล้วให้บอกภาพไหนเป็น ประโยชน์และข้อควรระวัง
 แล้วจึงเขียนบนกระดานเป็นแผนผังความคิด

tip  ควรเขียนแผนผังแบ่งแยกหัวข้อให้ครบและชัดเจน
 ควรถามประสบการณ์เดิมเด็ก

 

 กลุ่มที่ 9 ส้ม
 


 สอนเรื่องผลิตภัณฑ์แปรรูปจากส้ม
เริ่มจากการร้องและเต้นเพลงส้ม จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ทำจากส้ม
แจกให้เด็กๆดู

tip ไม่ควรแจกให้เด็กดูเพราะอาจขว้างปาเกิดอันตรายได้
อาจทำมาในรูปแบบการคลำของในกล่องแล้วทายว่าคืออะไร
ครูควรอยู่ข้างหลังสิ่งของให้เด็กเห็นชัดเจน
 


เพื่อนๆนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู

 

กิจกรรมทำไข่เทอริยากิ

เป็นกิจกรรมที่ดีสามารถนำไปใช้สอน เด็กได้เพราะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก
อุปกรณ์ส่วนผสมก็หาได้ ทั่วไปแถมยังมีคุณค่าทางโภชนาการ
ส่วนผสม
         1.ไข่ไก่ (Egg)
         2.ข้าวสวย (Rice)
         3.ผักต่างๆ(แครอทcarrot /ต้นหอม leek
         4.ปูอัด (a crab compresses)
         5.ซอสปรุงรส
         6.เนย (better)
วิธีการทำ
         1.ตีไข่ใส่ชาม
         2.นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี
         3.นำเนยใส่ในหลุมกระทะ
         4.คนส่วนผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปเทลงในหลุมกระทะที่เตรียมไว้

 

การนำไปประยุกต์ใช้

นำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในการเขียนแผนจริงๆให้กับเด็กๆได้
 เพราะว่าการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาในการทำงานในวิชาชีพครู
 ในการเขียนแผนนั้นต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับเด็กๆ
 การเขียนแผนนั้นต้องมีแบบแผน  ต้องคำนึ่งถึงความเป็นจริงและความถูกต้อ
งรวมทั้งความเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับเด็ก ดังนั้นต้องเรียนอย่างถูกต้อง
เพื่อการเขียนแผนมีประสิทธิภาพและนำวิธีการทำอาหารไปใช้ได้จริง
เพราะเป็นอาหารที่ทำง่ายแถมอร่อยและมีประโยชน์มากมาย

 การประเมินผล

 ตนเอง...วันนี้ค่อนข้างตั้งใจเพื่อนนำเสนอคะ
ยังมีคุยบ้างแต่ก็คอยตอบคำถามครูเป็นระยะๆและตั้งใจทำเทอริยากิดีมากค่า

เพื่อน... ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี 
 จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน 
เพื่อนๆตั้งใจทำเทอริยากิมากคะ

อาจารย์... ในวันนี้อาจารย์จะคอยชี้แนะให้แต่ล่ะกลุ่มฟังถึงข้อที่ควรปรับปรุง
 เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ได้จริง และครูยัง
นำอาหารอร่อยๆวิธีทำง่ายๆมาให้พวกเราได้ทำทานกันด้วยคะ

.
.
.
ขอบคุณคะ
.
.
.

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

 
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557

ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
 โดยการสอบสอนตามแผนการเรียนที่เขียนส่งอาจารย์ ซึ่งมีหน่วยต่างๆ ดังนี้
 
                              กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้           กลุ่มที่2 หน่วยนกหงส์หยก
                              กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพด       กลุ่มที่4 หน่วยแตงโม
                              กลุ่มที่5 หน่วยกล้วย           กลุ่มที่6 หน่วยช้าง
                              กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อ            กลุ่มที่8 หน่วยสัปปะรด
                              กลุ่มที่9 หน่วยส้ม
นำเสนองานทั้งหมด 6กลุ่ม อีก3กลุ่มนำเสนออาทิตย์ต่อไป
คือ กลุ่มนกหงษ์หยก กลุ่มสัปปะรด และกลุ่มส้ม



กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้

สอนเรื่องชนิดของผลไม้ โดยการหยิบผลไม้ที่เหมือนกันโดยใช้เกณฑ์ในการหยิบแล้วนับจำนวนผลไม้หมดก่อน หยิบ1ต่อ1 ผล

tip ควรวาง จากซ้ายไปขวา และควรวางผลไม้นอกตะกร้า ด้านหน้า
เพื่อให้เด็กเห็นชัดเจน
 

 กลุ่มที่4 หน่วยแตงโม



 สอนเรื่องอาหาร จากแตงโม ทำน้ำแตงโมปั่น
 อธิบายอุปกรณ์ พร้อมทั้งส่วนประกอบ
สาธิตวิธีการทำและให้ออกไปทำ

 

 กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพด
 

 สอนเรื่องประโยชน์และข้อควรระวังของ ข้าวโพด
 โดยการเล่านิทานเรื่องเจ้าหมูจอมตะกละซึ่งสอดแทรกประโยชน์และข้อควรระวัง
 พร้อมทั้งถามประสบการณ์เดิม
จากนั้นชูภาพแล้วให้บอกภาพไหนเป็น ประโยชน์และข้อควรระวัง

 

 กลุ่มที่5 หน่วยกล้วย

 

 สอนเรื่องประโยขน์และข้อควรระวังของกล้วย
วันนี้ผิดพลาดเนื่องจากจำวันผิดคะ 
 โดยการเล่านิทานเรื่องกล้วย กล้วยซึ่งสอดแทรกประโยชน์และข้อควรระวัง
 พร้อมทั้งถามประสบการณ์เดิม
จากนั้นวางภาพให้เด็กออกไปติดให้ตรงกับหัวข้อ คือ 
ประโยชน์และข้อควรระวัง

tip ไม่ควรนำภาพมาหลายภาพในใบเดียวกัน และควรถามเด็กๆว่าเห็น
อะไรในภาพบ้าง

 

 กลุ่มที่6 หน่วยช้าง
 

 สอนเรื่องช้าง ใช้เกณฑ์แบ่งช้างเอเชียกับช้างแอฟริกา
 ให้ดูภาพแล้วแยกรูปภาพช้าง

 tip ควรมีภาพเหมาะสมกับแถว และวางให้เท่าทุกแถว
และมีภาพเยอะให้เหมาะสมกับจำนวนแถว

 

 กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อ


 สอนเกี่ยวกับลักษณะ/สี/ขนาด/รูปทรง 
ให้เด็กสังเกตลักษณะต่างๆของผีเสื้อ 2 ชนิดแล้วมาหาความสัมพันธ์เหมือนต่าง 

 tip ใช้การวาดภาพแทนคำพูด ข้อไหนเขียนในวงกลมแล้ว วงให้ชัดเจน


 

 การนำไปประยุกต์ใช้

นำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในการเขียนแผนจริงๆให้กับเด็กๆได้
 เพราะว่าการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาในการทำงานในวิชาชีพครู
 ในการเขียนแผนนั้นต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับเด็กๆ
 การเขียนแผนนั้นต้องมีแบบแผน  ต้องคำนึ่งถึงความเป็นจริงและความถูกต้อ
งรวมทั้งความเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับเด็ก ดังนั้นต้องเรียนอย่างถูกต้อง
เพื่อการเขียนแผนมีประสิทธิภาพ

 การประเมินผล

 ตนเอง...วันนี้ค่อนข้างตั้งใจเพื่อนนำเสนอคะ
ยังมีคุยบ้างแต่ก็คอยตอบคำถามครูเป็นระยะๆ

เพื่อน... ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี 
 จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน 
เพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์

อาจารย์... ในวันนี้อาจารย์จะคอยชี้แนะให้แต่ล่ะกลุ่มฟังถึงข้อที่ควรปรับปรุง
 เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ได้จริง 

 
 .
.
.
ขอบคุณคะ
.
.
.